Thursday, January 20, 2011

สรุปผลการปลูกเสาวรส


ต้องยอมรับกับสังคมชนบทของไทยครับ ที่ส่วนใหญ่เป็นเกษตรกร เมื่อองค์ความรู้ถูกจำกัดไปที่ชุมชนเมือง สมองที่เกษตรกรส่วนใหญ่ลงทุนไปคือลูกหลานแห่แหนกันเข้าไปประกอบอาชีพในเมืองหมด ทำให้องค์ความรู้ที่สั่งสมมาด้วยกระบวนการศึกษาขั้นปริญญาตรีก็เข้าไปในเมืองด้วย หรือไม่ก็เข้าสู่ระบอบราชการ ที่เมื่อผู้น้อยเข้าไปแล้วก็ต้องหลอมละลายกลายเป็นขี้ข้ากินภาษีไปวันๆ แบกหน้าใหญ่หน้าโตเจอคนเฒ่าคนแก่มีปัญหาก็เบี้ยใบ้รายทางค่อยก้มลงมามอง

ผมโทษรัฐบาลนะแต่ไม่ใช่เน้นไปที่ชุดไหนแต่ทุกชุด แก้ระบบราชการใหญ่กว่าประชาชนไม่ได้สักทีทั้งๆที่ ถ้าไม่มีประชาชนเขาก็ไม่มีเงินเดือน จริงๆแล้วถ้าใครดูคู่เดือดที่ป๋อยืนตะโกนหน้าที่ว่าการ นั่นแหละสิ่งที่ราชการต้องทำ "หน้าที่ข้าราชการ ต้องรับใช้ประชาชน" พวกคุณลืมกันไปหมดแล้วมั้งราชการ

พอแล้วบ่นไปเท่านั้นครับ วันนี้ผมจึงมาขอเชิญชวนประชาชนทุกคนมาพึ่งตนเองแบบในหลวงกันดีกว่าครับ ขอพระองค์ทรงพระเกษมสำราญ อย่างน้อยผมคนหนึ่งที่ขอน้อมเอาคำสั่งสอนพระองค์มาใช้บ้าง เพราะพ่อหลวงได้ลงมือทำให้กับประชาชนของพระองค์มากกว่า ข้าราชการเสียอีก ผมอาจมีสิ่งที่ได้เปรียบชาวไร่ชาวนาทั่วไปมาก แต่ด้วยวัยวุฒิที่ยังไม่เพียงพอที่จะดึงความสนใจของผู้คนส่วนใหญ่ได้ตอนนี้จึงทำได้แค่ปฏิบัติให้เห็นผลเสียก่อน

บทสรุปเสาวรส ตอนแรกๆที่ผมเริ่มสนใจการปลูกเสาวรสนั้น ไม่ใช่ที่ตัวราคาแต่เป็นตรงส่วนที่พื้นที่ปลูกที่คนส่วนใหญ่ยังไม่ทำ และอีกประการณืหนึ่งคือตลาดที่ต้อนรับการแปลรูปที่ยังสดใสอยู่ นอกจากนั้นแล้วตัวเสารสเองยังให้ประโยชน์มากมาย สิ่งแรกที่ผมมองคือการแปลรูปส่งไปยังตลาดภายนอกพื้นที่ นี่คือมุมมองของผมเอง ส่วนมุมมองของเกษตรกรทั่วไป เขามองกันแบบนี้ครับ เสารสหรือกระทกรก มีคนปลูกแล้วมีโรงงานมารับซื้อ ราคาดีมาก คืนทุนเร็ว ไม่ต้องดูแลผลผลิตเยอะน่าทำ

คงมองเห็นความต่างของความคิดทั้งสองแล้วนะครับ การมองของเกษตรกรทั่วไปนั้น เราไม่ต้องเดาครับ คนได้เงินคือคนทำคนแรกแน่นอน ส่วนหลังๆ เมื่อโรงงานเห็นว่าตัวเสารสมีจำนวนมากไม่มีทางที่ราคาจะเท่าเดิมเพราะโรงงานต้องการ ลดต้นทุนการผลิตอยู่แล้ว แต่เกษตรกร ยิ่งต้องใส่ปุ๋ยดูแลให้ต้นได้ผลผลิตเยอะเท่าตัว แน่นอนครับปัจจุบัน ราคาของเสาวรสหล่นตุ๊บลงมาเหลือกิโลกรัมละไม่ถึงบาทแล้วทำไม เพราะโรงงานมีความเพียงพอต่อความต้องการ แต่ถามว่าเมื่อเสาวรสล้นตลาดแล้ว โรงงานแปรรูปลดราคาน้ำเสาวรสขวดไหม คำตอบคือไม่ครับใครได้เงินทีนี้ แน่นอนตัวโรงงาน

เวลาแบบนี้คนเรียนสูงๆรับราชการหนีหายไปไหน แต่ละอำเภอมีหน่วยงานเข้ามารับผิดชอบไหมไม่ แล้วเกษตรอำเภอมาทำสำมโนประชากรทำไมแต่ละปีว่าใครปลูกอะไรบ้าง เพียงเอาข้อมูลเข้าไปคำนวณภาษีที่ประชาชนจะจ่าย แค่นั้นหรือ นี่มันระบบข้าราชการขอทานชัดๆ ประเทศไทยหลายมหาวิทยาลัยเปิดหลักสูตรการทำอาหารการแปรรูปอาหาร วิทยาศาสตร์อาหาร การออกแบบผลิตภัณท์ แล้วคนเหล่านั้นหนีหายไปไหน ทำไมไม่ว่าจ้างมาที่อำเภอจัดเป็นหน่วยงานๆๆ มาอบรมเป็นที่ปรึกษาให้คนแต่ละท้องถิ่น จัดการการตลาด จัดให้เป็นผลิตภัณท์ของท้องถิ่น ไปเลย 1รัฐบาลมีโครงการ1อย่างพอเปลี่ยนแล้วอันที่ดีเอาไปทิ้งไหน คนบ้านนอกเขาไม่ด่าหรอกว่าลอกเลียนแบบ รัฐบาลก่อนต่อกันไปเลยพัฒนามันให้ดียิ่งกว่าสิ นี่หว่านเงินเข้ามาเพียงชั่ววูป แล้วคุณก็รู้กันว่าประชาชนคุณบ้านนอกโง่ เพราะหัวกะทิมันอยู่ในเมืองแล้วคุณบริหารในเมืองให้ดียังไงเอาใจคนเมืองมันดีกว่าได้มากกว่าอยู่แล้วนี่

พอแล้วบ่นมามากมาย เข้าเรื่องกันต่อครับ ปัจจุบันเสารสแถวบ้านแทบกวาดทิ้ง ผมละเสียดาย เพราะในต่างประเทศเขาทำทั้งน้ำส้มสายชู ซอส ไวน์ จำหน่ายกันราคาแสนงาม แต่ตอนนี้ที่ภูเรือทิ้งเป็นตันๆ พื้นที่ก็รกร้างไปด้วย ส่วนผมยังขาดต้นทุนการผลิตเพื่อส่งจำหน่ายครับยังทำได้ทีละน้อย คนทั่วไปในชุมชนเราชักชวนก็ไม่มีใครเอาด้วยเพราะว่าเรายังอายุน้อยอยู่

อีกไม่นาน ผมจะเริ่มลองวางจำหน่ายผลิตภัณท์ที่ผมวางแผนไว้เบื้อต้น เป็นการทดลองตลาด ซึ่งถ้ามันสำเร็จผมคิดว่ามันจะช่วยดึงคนในชุมชนเข้ามาเรียนรู้การทำมากขึ้น โดยส่วนนี้จะทำให้คนเหล่านั้นหันมาดูการทำเกษตรแบบที่ผมทำ ที่ในหลวงท่านทรงดำรัชเอาไว้เพื่อให้ชุมชนอยู่ได้และเป็นแนวทางให้น้องๆหลานๆหลายคนเรียนจบแล้วกลับมาที่ชุมชนบ้าง

*.*ปล.สำหรับใครที่อยากติดตามว่าผมจะทำอะไรจำหน่าย เข้าไปแอดผมในเฟสบุ๊คได้ที่ kittikorn_p@hotmail.com